Java
หลายๆคนคงเคยได้ยินชื่อใช่ไหมคะ อาจะเคยเห็นจากเกมส์กัน
และส่วนใหญ่ก็คิดกันว่าเกมส์นั้นหน่ะก็คือโปรแกรมจาวา
ใครๆถามว่าเคยใช้โปรแกรมจาวาก็กันอย่างไม่ได้คิดเลยว่า เคยใช้ ทั้งๆที่จริงแล้ว
จาวานั้นหน่ะมันไม่ใช่เกมส์ แล้วความจริงแล้วจาวามันคืออะไร
เราจะพาทุกคนมารู้จักกันเลยค่ะ
ภาษาคอมพิวเตอร์ - Java
ในปัจจุบัน
เมื่อพูดถึงภาษาคอมพิวเตอร์ สิ่งที่เราจะนึกถึงมีอะไรบ้าง?
ภาษา C,
C+, C++, C# หรือ Java แล้วเจ้าพวกนี้จริงๆแล้วคืออะไรล่ะ
วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปด้วยกันค่ะ
ภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์
หมายถึง ภาษาใดๆที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์
หรือกับคอมพิวเตอร์ด้วยกันแล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งได้
และภาษาคอมพิวเตอร์เองนั้นก็มีการวิวัฒนาการมาเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์
เราสามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุคดังนี้
1. ภาษาเครื่อง (Machine Language)
2. ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language)
3. ภาษาชั้นสูง (High Level Language)
4. ภาษาชั้นสูงมาก (Very High Level Language)
5. ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)
แล้วเจ้า Java ล่ะ ? มันคืออะไร ?
Java หรือ Java programming language คือ
ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง
และวิศวกรคนอื่นๆที่บริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ ภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส C++
โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ
เจมส์ กอสลิง แล้วภายหลังจึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ “จาวา” ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน
ภาษา Java เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมที่สนับสนุนการเขียน
โปรแกรมเชิงวัตถุ
( OOP
: Object-Oriented Programming) โปรแกรมที่เขียนขึ้นถูกสร้างภายในคลาส
ดังนั้นคลาสคือที่เก็บเมทอด (Method) หรือพฤติกรรม
(Behavior) ซึ่งมีสถานะ (State) และรูปพรรณ (Identity) ประจำพฤติกรรม (Behavior)
องค์ประกอบ
Java
1. Java
เป็นภาษาที่มีอิสระในเรื่องของรูปแบบ หมายความว่า
ในการพิมพ์ source code เราจะย่อหน้าหรือไม่ย่อหน้า จะวรรค 1
เคาะ หรือกี่เคาะ โปรแกรมก็ run ได้เหมือนเดิมทุกประการ
ไม่เชื่อก็จงทดลองกับโปรแกรม HelloWorld.java ดูก็ได้!
แต่ท่านควรยึดแบบแผนที่ดี (หัวข้อถัดไป)จะดีกว่า
มิฉะนั้น จะไล่ดู ตรวจสอบ แก้ไขโค้ดลำบาก
2. Java
มีองค์ประกอบและไวยากรณ์คล้าย C และ C++
3. Primitive
Data Types มี boolean, byte, short, char, int,
float
จงเลือกใช้ให้เหมาะสม
โปรแกรมจึงจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (รันเร็ว ไม่เปลืองเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์
ผลลัพธ์ถูกต้องเที่ยงตรง โดยเฉพาะทศนิยมด้วย ฯลฯ)
4. Operators แต่ละคู่ต่อไปนี้ต้อง เขียน/พิมพ์ ติดกัน :
==,
!=, <=, >=, &&,
||
ข้อดีของ java
คือ java สามารถทำงานได้กับทุกระบบปฏิบัติการโดยอาศัยตัวกลาง
1.ทำงานบนเว็บเบราเซอร์ได้
2.ความปลอดภัยสูง
3.สนับสนุนงานหลายระดับ
4.สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
5.ภาษาจาวาเป็นภาษาเชิงวัตถุ
6.ความทันสมัย
7.ความเรียบง่าย
8.กลไกในการคืนพื้นที่ในหน่วยความจำอัตโนมัติ (garbage collection)
9.มีคลาสและอินเตอร์เฟซให้ใช้เยอะมาก
-
794 interfaces
-
2485 classes
10.ฟรี
ข้อเสียของ JAVA
1.ทำงานได้ช้ากว่า native code (โปรแกรมที่ compile
ให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น
อย่างเช่น C หรือ C++ ทั้งนี้ก็เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวาจะถูกแปลงเป็นภาษากลาง
ก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีก
ทีหนึ่ง ทีละคำสั่ง (หรือกลุ่มของคำสั่ง) ณ runtime ทำให้ทำงานช้ากว่า
native code ซึ่งอยู่ในรูปของภาษาเครื่องแล้วตั้งแต่ compile
โปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการทำงานจึงไม่นิยมเขียนด้วยจาวา
2. tool
ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง
ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool
ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า (แต่เราต้องซื้อ tool ของ MS และก็ต้องรันบน platform ของ MS)
ทุกๆ คนก็ได้รู้จัก JAVA กันเบื้อต้นกันไปบ้างแล้วนะคะว่าจริงๆแล้ว JAVA นี่ไม่ใช่เกมส์แต่เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ต่างหาก และใครที่อ่านแล้วชอบโปรแกรมภาษาตัวนี้ก็ลองไปศึกษาเพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ตและแห่งข้อมูลอื่นๆที่น่าเชื่อถือนะคะ จะสังเกตเห็นการใช้โปรแกรมภาษา java เป็น ภาษาที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในการเขียนเว็บ มันอาจจะยากสำหรับใคร แต่มันคงไม่ยากเกินความตั้งใจของทุกๆ คนค่ะ ^++++^
How to Java for beginners 1
อ้างอิงเนื้อหาจาก
http://mtts17sj.exteen.com/20110710/entry
https://nongtha57.wordpress.com/power-point-java/
http://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2185-java-คืออะไร.html
อ้างอิงรูปภาพจาก
http://www.amplysoft.com/chmod777/knowledge/image/images/java.jpg
http://www.slideshare.net/VictorTrakhtenberg/confessions-of-a-java-developer-that-fell-in-love-with-the-groovy-language
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น